วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555


คำสำคัญ

๑.ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสาระสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่สำคัญเป็นระบบข่าวที่กำหนดขึ้นและจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
  •  สารสนเทศ
ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information  หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษทั้งในการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที(IT)

เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผลและกานแสดงผลสารสนเทศ แบ่งเป็น ๒ ส่วน
   ๑.คอมพิวเตอร์
   จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบันเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผลและการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ ๒ ส่วนคือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟท์แวร์
   ๑.เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น ๔ ส่วนคือ
๑.)หน่วยรับข้อมูล
๒.)หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU)
๓.)หน่วยแสดงผลข้อมูล (Out Put Unit)
๔.)หน่วยความจำสำรอง
   ๒.เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
๑.)ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
๒.)ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
   ๒.เทคโนโลยีการสือสารโทรคมนาคม
   หมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น โทรศัพท์ ระบบดาวเทียมและ ระบบสื่อสารอื่นๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที(IT)

เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผลและกานแสดงผลสารสนเทศ แบ่งเป็น ๒ ส่วน
   ๑.คอมพิวเตอร์
   จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบันเนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผลและการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่สำคัญได้ ๒ ส่วนคือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟท์แวร์
   ๑.เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่อเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น ๔ ส่วนคือ
๑.)หน่วยรับข้อมูล
๒.)หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU)
๓.)หน่วยแสดงผลข้อมูล (Out Put Unit)
๔.)หน่วยความจำสำรอง
   ๒.เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
๑.)ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software)
๒.)ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
   ๒.เทคโนโลยีการสือสารโทรคมนาคม
   หมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น โทรศัพท์ ระบบดาวเทียมและ ระบบสื่อสารอื่นๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

1.ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆว่า โอเอส (Operting System : OS)
   เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น
       1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก
       2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
       3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งที่ใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ้งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภาระกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆเครื่องพร้อมกัน
      4) ลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคูณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GMU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Freeware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
         ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บน CPU หลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) ดิจิตอลผ (Digital Aipha Computer) และซันสปาร์ค (SUNSPARC) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
      5) แมคอินทอช(macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัตืการอีกมาก เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่นระบบปฏิบัติการ เน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา